เครื่องดนตรีภาคใต้

 เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

1. ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะ 2. กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนรา หรือหนังตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า

3. โหม่ง เป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสำคัญในการขับบท ทั้งในด้านการให้เสียง

    1. ปี่ เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญในการเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม south1
    2. 5. แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็ง
    3. 6. กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้ โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ฃ
    4. 7. โพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้าน ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน นิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า “จันโพน”

south4

  1. 8. กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักษณะคล้ายปืด แต่เล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านของหนัง
  2. 9. ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง และปี่

ประเภทเพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นเมืองภาคใต้ เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น

2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอน โต้ตอบ

เพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงพื้นบ้านประจำภาคใต้

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่า เช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะ การแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคร

นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบการละเล่นแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีตาร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลงเป็นคำร้องง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านของไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไป
2